รอบ ๆ โยชิสึเนะ จากศาลาส่องประกาย โอซาระกิ จิโร
อาคารในฮิระอิซุมิที่เป็นรู้จักสำหรับโยชิสึเนะและเราในปัจจุบัน คือ คอนจิคิโดและกรุพระสูตรของชูซอน-จิ การก่อสร้างของวัดนี้เริ่มโดย ฟูจิวาระ โนะ คิโยฮาระ ขุนนางคนแรกของฮิระอิซุมิ หลังจากนั้นไม่นานเขาได้ย้ายฐานการดำเนินการจากบริเวณเอสะชิหรือในปัจจุบันคือเมืองโอชูมายังฮิระอิซุมิ คิโยฮิระได้สร้าง "เจดีย์สมบัติ" ซึ่งมีผู้รู้เพียงไม่กี่คน รู้จักในชื่อว่า ทาโฮจิ หลังจากนั้นเขาได้สร้างศาลาสองชั้น ไดโชจุอิน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปอามิดะ(อามิดะ)สูงกว่า 9 เมตร และผู้ติดตามอีก 9 องค์ซึ่งมีความสูง 5 เมตร ในร้อยปีแรกคิโยฮาระได้สร้างศาลาชาคะและศาลาสองโลก สุดท้ายประมาณ 13 และ 15 ปีจากตอนต้นที่เริ่มแผนการนี้ การก่อสร้างที่ทำสำเร็จนั้นมีเพียงกรุพระสูตรและคอนจิคิโด ศาลาพระอมิตาภพุทธะ 9 รูป (ซึ่ง ไดโชจุอิน เป็นสิ่งที่ผิดแปลกไปจากดั้งเดิม) มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น แต่ปัจจุบันคงเหลือเพียง 1 รูปเท่านั้น ที่ โจรุริจิ ใน นาระ ซึ่งเป็นโถงหลักในวัด อย่างไรก็ตาม บันทึกแสดงให้เห็นว่าศาลาคิโยฮิระมีโครงสร้างสองชั้นที่ใหญ่กว่ามาก เป็นการผสมผสานที่สำคัญของสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ต้อนรับโยชิสึเนะจากบนยอดคันซัง
คิโยฮิระ ผู้ที่กลายเป็นผู้นำของโอคุ โรคุกุน (6 เขตหลัง) เป็นผู้ที่มีความศรัทธาอย่าลึกซึ้ง ทางสัญจรอันยิ่งใหญ่หนึ่งสายได้นำนักเดินทางจากเขตแดนทางด้านใต้ของโอชู (ชิระคาวะ โนะ เซคิ) ไปยังท่าเรือทางตอนเหนืออันแสนไกลของโซโตะกาฮามะ ถนนเส้นนี้ผ่านชูซอน-จิ ระหว่างทาโฮจิและศาลาชาคะ คิโยฮิระได้สร้างที่ปกคลุมพระธาตุในทุก ๆ 108 เมตร ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 20 วันจากเหนือจรดใต้ บนหน้าพระธาตุจะมีรูปภาพสีทองของพระอมิตาภพุทธะ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดถึงศาสนาสำหรับนักเดินทาง
การสร้างวัดและรูปปั้นพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่ขุนนางผู้สูงศักดิ์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้เกิดการบุกรุกจากชนชั้นนักรบ แต่คิโยฮิระผู้ที่ได้กลายเป็นขุนนางคนใหม่ของอาณาเขตอันกว้างใหญ่ทางตอนเหนือ ได้เริ่มดำเนินการแผนการที่ใหญ่อลังการไม่สามารถเปรียบเปรยได้ด้วยความคิดอันเฉลียวฉลาดช่างประดิษฐ์ ไม่มีใครเลยนอกจากคิโยฮิระผู้คิดวางพระธาตุตามถนนหลัก
คำปฏิญาณตนอุทิศของชูซอน-จิได้ถูกอนุรักษ์ไว้ และจากสิ่งนี้เราได้เรียนรู้ถึงแรงบันดาลใจของคิโยฮิระสำหรับการดำเนินการอันใหญ่หลวงนี้ สิ่งนี้ได้อธิบายถึงความตั้งใจของเขาที่จะสร้างวัดและเพื่อระลึกถึงบุคคลที่เสียชีวิตในสนามรบที่ได้ทำลายโอชู และเพื่อนำทางพวกเขาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู เพื่อการเกิดใหม่ในดินแดนอันบริสุทธิ์ของพุทธสวรรค์ ในทศวรรษนี้กับแผนการก่อสร้างอาคารวัดและการขยับขยายที่ดำเนินไปเพียงครึ่งทาง บันทึกที่ในถูกพบภายในคอนจิคิโด ระบุว่า ศาลาสีทองเป็นสิ่งก่อสร้างสุดท้ายที่สำเร็จในปี 1124
มันแสดงให้เห็นว่า เมื่อการจัดเรียงลำดับของศาลาและเจดีย์สำหรับมวลชนเสร็จสิ้น ท้ายที่สุดแล้วคิโยฮิระก็พร้อมที่จะสร้างศาลาสำหรับทำสมาธิเป็นของตนเองโดยการเดินจงกรม ความคล้ายคลึงเพียงเล็กน้อยของดินแดนอันบริสุทธิ์บนโลกเพียงเพื่อวันสุดท้ายของเขา ด้วยขนาดที่เล็กทำให้คอนจิคิโดไม่มีความแตกต่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารที่ตั้งล้อมรอบที่ดูคล้ายกับรูปร่างของพุทธศาลา แต่มันส่องสว่างทั้งภายในและภายนอกด้วยประกายของทองบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของแสงทองแห่งพุทธสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธะในลักษณ์ของโลกในอุดมคติ ดินแดนอันบริสุทธิ์
เป็นเรื่องปกติที่จะเคลือบพระพุทธรูปด้วยทองเพื่อเป็นการสื่อถึงความสว่างไสวของดินแดนบริสุทธิ์ ไม่ใช่จะมีเพียงเมืองหลวงเท่านั้นที่จะสามารถมีศาลาเคลือบทอง ความสำเร็จนี้เป็นเอกลักษณ์ของคิโยฮิระขุนนางแห่งโอชู อันที่จริงแล้วอาณาจักรของเขาเป็นแหล่งผลิตทองรายใหญ่ ซึ่งเขาสามารถใช้โลหะมีค่านี้ได้อย่างฟุ่มเฟือยเพื่อทำการตกแต่งและแสดงให้เห็นถึงพลานุภาพและอำนาจของเขา แต่ทว่าคิโยฮิระดูเหมือนจะถูกบันดาลใจจริง ๆ จากการที่มีใจจดจ่อกับศาสนาเพื่อสร้างดินแดนบริสุทธิ์ในโลกแห่งชีวิต ในคำปฏิญาณอุทิศตนของชูซอน-จิ คิโยฮิระอ้างถึงตัวเขาอย่างถ่อมตนว่า "ประมุขของฟุชู" หลอมรวมผู้คนฮอนชูพื้นเมืองทางตอนเหนือ เป็นเรื่องที่ง่ายมาก หากเล่นบทของคนถ่อมตนซึ่งทำให้ความศรัทธาในดินแดนบริสุทธิ์ของเขานั้นแตกต่างอย่างมีคุณภาพจากพวกประจบสอพลอในเมืองเกียวโต สำหรับคิโยฮิระ การเข้าไปยังศาลาสว่างไสวที่เขาสร้างขึ้นเองนั้นก็คงไม่รู้สึกต่างอะไรกับการเดินเข้าสรวงสวรรค์ของตัวเอง
มินาโมโตะ โนะ โยชิมิสึ บุตรชายของโยริโยชิ(นายพลผู้กุมชัยชนะในสงคราม 9 ปี) ได้สร้างศาลาพระอมิตาภพุทธะก่อนที่เขาจะเสียชีวิต และใช้เวลาห้วงสุดท้ายติดอยู่กับภาพเชือก 5 สี การเสียชีวิตของโยชิมิสึเป็นตัวอย่างของความเชื่อ ซึ่งแพร่หลายในหมู่ขุนนางชั้นสูงไปสู่นักรบ ว่าพระอมิตาภพุทธะจะเสด็จมาบนเมฆสีม่วง พร้อมกันกับพยุหเสนาของพระโพธิสัตว์และสาวบริสุทธิ์ที่มาจากสรวงสวรรค์ เพื่อเก็บเกี่ยวความตายและนำพวกเขาเหล่านั้นไปยังที่ที่ควรอยู่ เชือก 5 เส้นเชื่อมต่อกับมือของผู้เสียชีวิตและพระพุทธรูปอามิดะ ซึ่งหมายถึงเส้นทางตรงสู่การหลุดพ้นอย่างแท้จริง คอนจิคิโดก็ได้กลายเป็นสุสานบรรจุ 3 โลงศพของคิโยฮิระและทายาทของเขา ซึ่งผู้สืบเชื้อสายของคิโยฮิระจะต้องอยู่ในดินแดนบริสุทธิ์ของเขาตลอดกาล แม้กระทั่งศรีษะของยาสุฮิระ เหลนของคิโยฮิระและผู้นำฮิระอิซุมิคนสุดท้ายก็ถูกรักษาไว้ที่นี่เช่นกัน ใครเป็นผู้ที่ช่วยเหลือนำศรีษะกลับมานั้นยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ส่วนที่เหลือของยาสุฮิระนั้นได้หลับอยู่ในโลงศพของบิดาของเขา สำหรับฮิระอิซุมิฟูจิวาระผู้ที่เชื่อว่าคอนจิคิโดคือดินแดนบริสุทธิ์บนผืนโลก จะไม่ทำให้พวกเขาอยากจะอยู่ที่นี่ตลอดไปได้อย่างไรเมื่อศาลาและโลงศพที่ห่อหุ้มนั้นเต็มไปด้วยทองคำ
บางทีโยชิสึเนะผู้เยาว์วัยพร้อมด้วยฮิเดฮิระอาจได้นั่งลงที่พื้นคอนจิคิโดนี้ และบางทีในฤดูร้อนตอนเช้าวันหนึ่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องผ่านจากฟากฟ้าสู่ศาลาทองคำอย่างไม่เหมือนสิ่งใดบนโลกมนุษย์แห่งนี้ก็เป็นได้
ตัดตอนมาจาก โอซารากิ จิโร คอลเล็คชั่น เล่มที่ 1 ปรากฏครั้งแรกใน อาซาฮี ชิมบุน PR (7/3/65- 25/5/66).
หน้าหลัก