สมาคมการท่องเที่ยวในฮิระอิซุมิ

ประวัติศาสตร์ วรรณกรรมประวัติศาสตร์ของฮิระอิซุมิ

หน้าแรกประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ≫ ประวัติศาสตร์ของฮิระอิซุมิ

ศตวรรษของฮิระอิซุมิ ศตวรรษที่ 12 ของญี่ปุ่นหรือเป็นที่รู้จักกันว่า ยุคของอินเซอิ – โดยกษัตริย์ผู้มีอำนาจที่สละราชสมบัติ แต่นิยามนี้มีผลแค่โครงสร้างอำนาจของรัฐบาลกลางเท่านั้น หากเราเลิกเพ่งเล็งการเมืองของสภา ทำให้เห็นได้ชัดเจนทันว่านี่คือศตวรรษของฮิระอิซุมิ ปัจจุบันลักษณะของเมืองนี้รวมทั้งการเมืองและวัฒนธรรมกำลังกลับคืนสู่ความมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

มิจิโนะคุ - ไปสู่อิสรภาพ

นำแผนที่ญี่ปุ่นออกมา ในทางตอนใต้ของฟุคุชิม่า ทางด้านขวาใกล้เส้นเขตแดนโทชิกิ คือเมืองชิราคาวะ ในสมัยก่อน พื้นที่ทางตอนเหนือของแนวกั้นนี้เคยเรียกว่ามุสึ และยังถูกเรียกว่ามิจิโนะคุ “ถนนที่ไกลออกไป” เพราะว่า ถูกตั้งอยู่ช่วงท้ายของทิศตะวันออกของเส้นทางภูเขา (โทซังโด) มีระยะทางอยู่ที่ประมาณ 550 กม. จากชิราคาวะไปยังอาโอโมริตามข้อมูลจากตารางเวลา JR และเมื่อดูระยะทางจากอาโอโมริไปยังโตเกียวและคาโกชิมาซึ่งเป็น 2,240 กม. แล้ว นับเป็น 1 ใน 4 ของความยาวทั้งหมดของญี่ปุ่น (ก่อนที่จะเพิ่มฮอกไกโดและโอกินาวะ)

มุสึ หรือ โอชู ไม่เพียงแค่กว้างใหญ่เฉย ๆ เท่านั้น แต่เป็นภูมิภาคแห่งเดียวของญี่ปุ่นที่เอาไว้ผลิตทองคำ และสินค้าที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคอีกอย่างหนึ่งคือม้าที่ได้รางวัล กระดาษอย่างดีและเครื่องเขินที่เป็นสินค้าที่ขาดไม่ได้สำหรับวัฒนธรรมในเกียวโตก็ผลิตที่นี่เช่นกัน มุสึยังทำการค้าแลกเปลี่ยนกับภูมิภาคทางตอนเหนือของฮอกไกโดและซาคาริน ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ เมื่อสภาได้มาถึงมุสึ ก็คำนึงถึงการขนส่งที่ปลอดภัยในการส่งส่วยและภาษีซึ่งได้ร่วมถึงม้าในพื้นที่และทองคำ

แม้กระทั้งช่วงยุคสมัยใหม่จิบะ ถูกขนานนามว่า “สุดทางถนนทางทิศตะวันออกที่ไกลออกไปอีก” มิจิโนะคุคือประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งเหนือออกไป—เป็นหนทางที่หน้ากลัวที่มีความมั่งคั่งเป็นตัวอันตราย ทางสภาได้ใช้จ่ายทรัพยากรอย่างบ้าคลั่งเพื่อที่จะเอาชนะและทำให้ดินแดนคนเถื่อนนี้เชื่องสงบ ฮิระอิซุมิตั้งอยู่ที่เกือบกึ่งกลางของเมืองมุสึเก่า ประจบกันกับแม่น้ำโคโรโมกาวะและคิตะคามิ เป็นดินแดนที่ตั้งเหนือแนวกั้น (โคโรโมกาวะ โนะ เซคิ) รู้จักในนามว่า โอคุ โรคุกุน (หกเขตหลัง) ถนนนี้แบ่งเขตแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างดินแดนของจักรวรรดิและ เอมิชิ อาณาจักรของโทโฮคุชนพื้นเมือง ในศตวรรษที่ 11 เอมิชิถูกควบคุมโดย อาเบะ ครอบครัวที่มีอำนาจ เมื่อ โยริโยชิ นักรบคุณธรรมจากตระกูลมินาโมโตะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายพลผู้รักษาความสงบและผู้ว่าราชการของมุสึในปี 1053 เขามีความพยายามที่จะยับยั้งตระกูลอาเบะ และในไม่ช้าความขัดแย้งก็ปรากฏให้เห็นระหว่างพวกเขา ซึ่งผู้นำทางด้านอาเบะ โยริโทคิ ได้ปิดแนวกั้นและสกัดกั้นความพยายามของโยริโยชิที่จะขยายการปกครองไปสู่เขตหลัง การต่อสู้ครั้งนี้ทำให้สภาเป็นกังวล เหตุการณ์นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์และถูกเรียกว่า สงคราม 9 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้วกินเวลาไปทั้งหมด 12 ปี (1051-62) ผลของการนองเลือดนี้คือความพ่ายแพ้ของอาเบะ ผู้มีคุณธรรมและผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า ฟูจิวาระ โนะ สึเนะคิโยะ สนับสนุนฝ่ายอาเบะในความขัดแย้งครั้งนี้ เขาได้แต่งงานกับหญิงตระกูลอาเบะ และบุตรของเขาทั้งสองเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โอชูฟูจิวาระ นามว่า คิโยฮิระ

ฮิระอิซุมิ - เมืองหลวงแห่งพระพุทธศาสนา

ในช่วงสมัยสงคราม 9 ปี โยริโยชิไม่ใช่ผู้ที่ครอบครองชัยชนะเกาะอาเบะ แต่เป็นคิโยฮาระ ซึ่งเป็นตระกูลท้องถิ่นที่สนับสนุนกองกำลังมินาโมโตะ ศึกครั้งนี้ได้กลายเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ และมารดาของคิโยฮิระได้แต่งงานอีกครั้งหนึ่งกับตระกูลคิโยฮาระ และทำให้เธอรอดชีวิต ในช่วงอายุ 7 ปีที่ค่อนข้างอ่อนไหวงคิโยฮิระถูกบังคับให้อาศัยอยู่ในฐานะลูกบุญธรรมศัตรูผู้ล้มบิดาของเขา ประมาณ 20 ปีต่อมา เมื่อคิโยฮาระอายุได้ 28 ปี ความขัดแย้งภายในคิโยฮาระก็ระเบิดสู่ความรุนแรง ผู้ว่ามุสึที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ ได้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งนี้ ซึ่งรู้จักในภายหลังว่าเป็น สงคราม 3 ปี (1083-1087) โยชิอิเอะเข้าข้างผู้ชนะในครอบครัวที่มีแต่ความอาฆาตนี้ แต่ไม่ได้รับการอนุญาตจากสภา ดังนั้นแทนที่จะได้รับรางรางวัลจากการฟื้นฟูคืนความสงบสู่เมืองเขาทั้งหมดกลับถูกบังคับให้ออกจากมุสึ ชายผู้ที่ยืนหยัดคนสุดท้ายในโอชูคือคิโยฮิระ ทายาทสืบทอดครอบครัวที่มีการปกครองแบบสามคน อาเบะ ฟูจิวาระ และคิโยฮาระ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ใช่การตัดสินใจของคิโยฮาระ เขาได้กลายเป็นผู้ที่กุมอำนาจของมุสึไปโดยปริยาย ฐานที่มั่นเดิมของคิโยฮาระนั้นอยู่ใน เอสะชิ หรือเมืองโอชูในปัจจุบัน การตัดสินใจที่จะย้ายฐานการดำเนินการไปยังฮิระอิซุมิซึ่งมีภูมิประเทศที่ค่อนข้างเปิด บ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการของคิโยฮิระที่อยากจะหนีออกจากขุนนางทั้งหกเขตหลังเพื่อที่จะขึ้นครองมิจิโนะคุทั้งหมด

คิโยฮิระเข้าใจว่าความสากลของพระพุทธศาสนาและความศรัทธาจะเป็นทางเดียวที่สามารถดึงผู้คนกลับมาจากความเหน็ดเหนื่อยของสงครามและละทิ้งความหวาดกลัว ความไม่แน่นอนที่เกิดจากระบบการเมืองที่แปรปรวน และความไม่แน่นอนทางสังคม

แผนการแรกเริ่มอันเยี่ยมยอดของคิโยฮิระพร้อมกับการค้นพบตัวเองในการเป็นผู้นำของมิจิโนะคุ คือ การสร้างที่ปกคลุมพระธาตุทุก ๆ 106 ม. ตลอดถนนใหญ่ที่วิ่งจากแนวกั้นที่ชิราคาวะไปยังท่าโซโตะกาฮามะ(อาโอะโมริ) บนหน้าของแต่ละอันจะเป็นภาพของพระอมิตาภพุทธะ(อามิดะ) พระพุทธรูปที่ส่องแสงไม่มีที่สิ้นสุดและพระผู้เป็นเจ้าแห่งดินแดนพุทธบริสุทธิ์ นักเดินทางจากทางตอนใต้ผู้ที่จะติดตามพระธาตุต้องไปยังชูซอน-จิ วัดสำคัญของคิโยฮิระ ใกล้กับจุดสูงสุดของเนินเขาวัดจะมีศาลาชื่อว่า ทาโฮโทะ ซึ่งมีลักษณะเด่นเหมือนกับดอกบัวของพระสูตร มีรูปปั้นประดิษฐาน ทาโฮ (พระพุทธรัตน) และ ชาคา (ศากยมุนี) ห้องโถงสองชั้นซึ่งเรียกว่า ไดโชจุอิน จุไปด้วยรูปปั้นพระอมิตาภพุทธะแบบยืน 9 องค์เรียงลำดับเพื่อช่วยให้ผู้คนได้กลับมาเกิดใหม่ในสวรรค์ ห้องโถงของวัดชาคาเต็มไปด้วยรูปปั้นชาคาทองคำกว่า 100 องค์ คิโยฮิระยังได้สงวนพื้นที่ไว้สำหรับการสร้างวัด โถงและศาลามากมายในแต่ละเมืองและหมู่บ้านในมิจิโนะคุ

ทัศนวิสัยของคิโยฮิระคือการเปลี่ยนมิจิโนะคุทั้งหมดเป็นอาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนาซึ่งรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตทุก ๆ ชีวิตในบริเวณนั้น นี่ไม่ใช่แค่เพียงแนวทางของการปลอบขวัญอารมณ์ของการสูญเสียที่ไร้ประโยชน์ของคิโยฮิระเท่านั้น แต่เป็นรากฐานของความฝันของเขาที่จะให้โอชูเป็นเอกราช

ฮิระอิซุมิ - เรื่องราวประวัติศาสตร์