สมาคมการท่องเที่ยวในฮิระอิซุมิ

ประวัติศาสตร์ วรรณกรรมสารคดีท่องเที่ยวในฮิระอิซุมิของฉัน

หน้าแรกประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ≫ สารคดีท่องเที่ยวในฮิระอิซุมิของฉัน ≫ ความฝันของนักรบโบราณ

ความฝันของนักรบโบราณ นาคาสึ ฟูมิฮิโกะ

ด้วยเหตุผลบางอย่าง ฉันจำได้ชัดเจนว่าการไปฮิระอิซุมิครั้งแรกของฉันนั้น คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1945 ก่อนที่ฉันจะอายุ 4 ปีเพียงไม่กี่เดือน ดังนั้นคุณอาจจะพูดได้ว่ามันดูแปลกที่ฉันจำได้ แต่อย่างไรก็ตามมันก็เป็นสิ่งที่ดี

ฉันจำได้แค่ว่า จากช่วงเวลาเหล่านั้นประมาณใกล้สงครามสิ้นสุด พวกเขาได้ทิ้งความประทับใจฝากไว้บนหัวใจวัยเยาว์ของฉัน

อากาศร้อนและท้องฟ้าแจ่มใสที่อิจิโนะเซคิ วันที่ 15 สิงหาคม ฉันกำลังเล่นอยู่ใต้ต้นลูกพลับในพื้นสนามของฉัน เมื่อมารดาของฉันวิ่งมาหาพร้อมกับวางมือทั้งสองลงบนหัวของฉันและกระซิบซ้ำไปซ้ำมาว่า “พ่อของเจ้ากำลังจะกลับมา มันเป็นเรื่องที่วิเศษใช่ไหม?” มารดาของฉันได้ยินรายงานผ่านทางวิทยุว่าสงครามได้ยุติลงแล้ว

พ่อของฉันเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนในฮานามาคิ แต่ว่าได้ถูกเรียกตัวไปครึ่งปีก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมจำนน เราเคยพูดกันว่าชายอย่างพ่อของฉันนั้นถูก “นำตัวไปโดยทหาร” และถึงแม้ว่าเขาจะประจำการแค่ในประเทศ แต่มารดาของฉันนั้นก็ยังคงเป็นกังวลมากอยู่ดี

ช่วงประมาณต้นเดือนกันยายน เมื่อพ่อของฉันกลับมาถึงบ้าน เป็นช่วงสมัยที่แทบจะไม่มีโทรศัพท์และวันหนึ่งพ่อของฉันก็มาปรากฏตัวให้เห็นหน้าประตูโดยไม่มีการบอกกล่าวใด ๆ ดวงตาที่ดำคล้ำ ผิวหนังที่โดยแสงจนเกรียม ทำให้ฉันตกใจยิ่งนัก และฉันก็จำได้ว่ายืนชิดแนบสนิทกับแม่ขนาดไหน

พ่อและแม่ของฉันนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้นฉันก็ไม่สามารถที่จะพิสูจน์อะไรได้อีกต่อไป แต่ฉันไม่คิดว่าพ่อของฉันกลับไปสอนหนังสือที่โรงเรียนเก่าหลังจากนั้น หลังจากช่วงเวลานั้นสักพัก เขาได้ตำแหน่งที่โรงเรียนมัธยมอิจิโนะเซคิ แต่ฉันมั่นใจว่าเขาไม่ได้ถูกว่าจ้างตั้งแต่สงครามยุติจนถึงฤดูใบไม้ร่วง

แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขของฉัน

เกือบทุก ๆ วันที่เราได้แช่น้ำในช่วงกลางวันด้วยกัน เมื่อเรารู้สึกเบื่อกับปืนฉีดน้ำและผ้าขนหนู พ่อของฉันได้ให้ฉันท่องบางสิ่งบางอย่างจากท่านขงจื๊อ “ขงจื๊อกล่าวว่า 'คำฉลาดและท่าทางอวดรู้มิได้เป็นของคนดี' ขงจื๊อกล่าวว่า...” ฉันไม่ค่อยเข้าใจภาษาโบราณเท่าไหร่นัก แต่ก็พูดซ้ำไปซ้ำมา ในการท่องจำในแต่ละครั้งทำให้ฉันได้รางวัลเป็นขนมหวานจากห้องครัว ฉันกระโจนจากห้องน้ำด้วยตัวเปลือยเปล่า หยิบฉวยลูกอม และเร่งรีบวิ่งกลับมาเพื่อแบ่งปันมันกับพ่อของฉันทันที

หลังจากนั้น ในวันสบาย ๆ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงวันหนึ่ง พ่อของฉันได้ให้แม่ของฉันจัดอาหารกลางวันและบอกว่าเขาจะไปฮิระอิซุมิ

ฉันเป็นสหายเดินทางของพ่อฉันอยู่เป็นนิจในช่วงเวลาเหล่านั้น ฉันจึงไม่เคยเคลือบแคลงใจเลยว่าเขาจะไม่พาฉันไปด้วย แต่แล้วฉันก็คิดผิด ฉันร้องไห้แล้วร้องไห้อีก จนพ่อใจอ่อนยอมให้ฉันไปด้วย

เราได้มาถึงถนนหลักด้วยรถบัส เราลงจากรถด้านหน้าวัดใหญ่แห่งหนึ่ง แต่ ณ ตอนนั้นฉันไม่ทราบว่าคือวัดอะไร จนเมื่อฉันได้เติบโตขึ้นถึงได้ทราบว่า นั่นคือ โมสึ-จิ

ไม่มีใครอยู่ที่นี่เลย และพื้นวัดก็เต็มไปด้วยหญ้ารก พ่อของฉันได้พบเจออนุสาวรีย์หินในหญ้า และเริ่มทำอะไรบางอย่าง พ่อได้นำถังน้ำออกมาและล้างผิวของมัน และโรยหมึกอินเดีย เขาได้วางแผ่นกระดาษบนหินนั้นและเริ่มถูมันด้วยแปรง การถูแบบนั้นคงไม่ได้รับอนุญาตในปัจจุบัน แต่ว่าเราก็ทำไปสองสามครั้ง พ่อของฉันกำลังคัดลอกบทกวีไฮคุที่มีชื่อเสียงของ มะสึโอะ บะโช “หญ้าฤดูร้อน / เป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ / ของความฝันของนักรบโบราณ” ฉันก็เล่นอยู่ใกล้ ๆ ไม่ค่อยเข้าใจนักว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เมื่อฉันได้มองไปที่พ่อ พ่อกำลังนอนอยู่บนหญ้าและจ้องมองท้องฟ้า น้ำตาได้ไหลออกจากหางตาตกลงบนหญ้าเขียวไม่ขาดสาย

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่ฉันได้ไปกับพ่อของฉัน และมันเป็นครั้งแรกที่ฉันได้เห็นพ่อร้องไห้

ฉันพูดไม่ออก ได้แต่กลั้นใจดูต่อไป หลังจากนั้นไม่นานพ่อก็ลุกนั่งและขยี้ดวงตาที่แดงก่ำ พ่อมองมายังฉันและพูดงึมงำว่า “ความฝันของนักรบโบราณ” นั่นคือสึ่งที่ฉันจดจำได้ในวันนั้น

ทำไมพ่อต้องร้องไห้? เพราะเพื่อนเสียชีวิต? หรือว่ามีความทรงจำบางอย่างจากสงครามทำให้พ่อเป็นแบบนั้น?

ฉันไม่ได้ตระหนักว่าพ่อของฉันนั้นเก่งทางด้าน บะโช ที่มหาวิทยาลัย จนกระทั่งต่อมาพ่อได้เดินทางตามรอยเท้าของผู้เชี่ยวชาญทางด้านไฮคุ เมื่อฉันเข้าโรงเรียนมัธยม เราต้องลงเรียนงานศิลปะแบบคลาสสิก อาจารย์ได้ให้เราท่องจำ โอคุ โนะ โฮโซะมิจิ ของ บะโช (“เส้นทางสายเล็ก ๆ ไปสู่ทางเหนือ”) จากหน้าไปอีกหน้า เมื่อฉันคิดถึงเรื่องนั้น ทำให้เข้าใจว่ามันอาจเป็นเพราะพ่อของฉันกำลังรำลึกถึงอดีตในชีวิตของเขาก็เป็นได้

800 ปีก่อนในโอชู ซึ่งต้องมีชายจำนวนมากที่ต้องเสียน้ำตาและแพ้ในสงคราม แต่ฉันก็อยากที่จะเขียนถึงความโศกเศร้าของพวกเขาเหล่านั้น

ตัดตอนมาจากหนังสือพิมพ์หอวัฒนธรรมฮิระอิซุมิ โทโฮ นิ อะริ ฉบับที่ 3

หน้าหลัก