HIRAIZUMI ดินแดนบริสุทธิ์ของโลก

มรดกทางวัฒนธรรม ของ Hiraizumi ได้รับการ ลงทะเบียนใน เว็บไซต์ มิถุนายน มรดกโลก ในปี 2011

ประวัติความเป็นมาของ Hiraizumi

เข้าสู่ช่วงยุคของฟูจิวาระแห่งโอชู

ประเทศญี่ปุ่นในช่วงสมัยศตวรรษที่ 8 ถึง 9 มีการปกครองแบบรูปแบบรัฐบาล ตั้งกฎหมายโดยได้อิทธิพลมากจากจีน สถาปนากฎหมายให้อำนาจส่วนกลางในการบริหารประเทศ ในช่วงนั้นทางพื้นที่เขตเหนือของญี่ปุ่น มุสึโนะคุนิ และเดะวะโนะคุนิ และพื้นที่ทางด้านเหนือ(คิตะโอกุ)นั้น เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับการควบคุมโดยตรงจากรัฐบาลกลาง
ปี 724 มีการก่อสร้างปราสาททางาโจ(ปัจจุบันคืออ.ทางะ จ.มิยางิ) และปี 802 มีการก่อสร้างปราสาทอิซาวะโจว (อ.โอชู จ.อิวาเตะ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลส่วนกลางกระจายตามพื้นที่ทางเหนือให้กว้างขวางขึ้น
ช่วงสมัยศตวรรษที่ 10 ถึงช่วงปลายของศตวรรษที่ 11 ญี่ปุ่นได้มีช่วงเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายที่กำหนดโดยประชาชน ไปเป็นกำหนดโดยจักรพรรดิแทน โดยช่วงนั้นทั้งพื้นที่มุสึโนะ และเดะวะ ได้มีตระกูลที่มีอำนาจปกครองอย่างกว้างขว้าง ปี 1051 ถึง 1061มีสงครามเซนคุเนนเกิดขึ้น และระหว่างปี 1083 ถึงปี 1087โกซังเนน ซึ่งสงครามนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้ปกครองท้องถิ่นกับรัฐบาลส่วนกลาง เป็นการสู้รบว่าใครมีอำนาจมากกว่า ท้ายสุดผู้มีอำนาจที่ปกครองมุสึโนะ อาเบะ และผู้ปกครองเดะวะ คิโยฮาระนั้นได้ถูกโค่นล้มลง จากนั้นผู้ที่สืบทอดการปกครองในดินแดนทั้งสองก็คือฟูจิวาระคิโยฮิระ
หลังจากที่คิโยฮิระได้ขึ้นปกครองได้รวมเอาทหารและตำรวจของมุสึโนะคุนิกับเดะวะโนะคุนิเข้าไว้ในมือ นี่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติศาสตร์ของฟูจิวาระแห่งโอชู ได้ควบคุและมีอำนาจเหนือมุสึโนะคุนิและเดะวะโนะคุนิ เป็นการปกครองที่มีรัฐบาลแบบเป็นรูปธรรมยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 12
ประวัติศาสตร์ของฟูจิวาระแห่งโอชู ใช้เคียะกัง(ที่พักอาศัย) ทำเป็นที่ทั้งว่าการรัฐบาล และบริหารรัฐกิจของฮิระอิซูมิ

ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา

ช่วงปลายสมัยศตวรรษที่ 11 ถึงช่วงงศตวรรษที่ 12 ญี่ปุ่นได้อยู่ในช่วงที่ (ความเชื่อเรื่องโลกหลังความตาย) กำลังแพร่หลาย ปี1052 เป็นช่วงเวลาที่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาได้ลดลง จนถึงจุดต่ำสุด เป็นปีเริ่มต้นโลกหลังความตาย พวกผู้มีอำนาจต่างๆ ในรัฐบาลกลาง ได้ต่อสู้กับผู้ต่อต้าน ได้สร้างวัดขนาดใหญ่เข้าช่วยแก้ไขปัญหา
ศาลาอะมิดะโดของเบียวโดอินที่อุจินั้น เหมือนเป็นตัวแทนของจักรพรรดิซึ่งถูกเคารพสักการะสูงสูง ที่ปรึกษาของจักรพรรดิฟูจิวาระโนะโยริมิจิได้เป็นผู้สร้างขึ้น เป็นวัตถุที่หาได้ยากและเป็นตัวแทนของวัดในสมัยนั้น
อีกด้านหนึ่ง ตอนปลายสมัยศตวรรษที่ 11ทั้งมุสึ และเดะวะนั้น มีการต่อสู้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ฟูจิวาระโนะคิโยฮิระซึ่งขึ้นกุมอำนาจนั้น ได้สร้างแผ่นดินแห่งพระพุทธศาสนาขึ้น และหลังจากนั้นได้ทุ่มเทช่วงท้ายของชีวิตทำให้เกิดขึ้นมา
คิโยฮิระนั้น เริ่มจากได้นำเอาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ทองคำจำนวนมากจากภูเขา และแม่น้ำของโอชู ม้าเร็ว ไหม ปอป่าน และวัตถุเส้นใยดีอื่นๆ ของทะเล และลูกธนู หนังของสัตว์ เป็นต้น นำมาทำการค้าขาย จนมีสินทรัพย์มากขึ้น จากสิ่งต่างๆดังกล่าวนี้ทำให้เกี่ยวโยงถึงความเสถียรภาพในการปกครองฮิระอิซูมิ ทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น
ดินแดงแห่งพระพุทธศาสนาของรัฐบาลฟูจิวาระนั้นสืบทอดถึงรุ่นลูกหลาน สี่รุ่น ยาวนานประมาณ 100 ปี ส่งผลให้ฮิระอิซูมิสถานที่ในการดำเนินการปกครองที่แตกต่างจากที่อื่น เหมือนกับโลกของสุขาวดีบนพื้นดิน มีวัดที่สวยงามถูกสร้างเรียงราย ทำให้เป็นทัศนียภาพที่โดดเด่นเฉพาะตัว

การสร้างโลกแห่งพระพุทธศาสนาบนดินของฟูจิวาระแห่งโอชู

คิโยฮิระ ได้เลือกฮิระอิซูมิซึ่งมีที่ตั้งใกล้ถนนสำคัญ และแม่น้ำใหญ่คิตากามิ ซึ่งอยู่ตรงกลางของมุสึโนะคุนิ นอกจากนี้ยังสร้างจูซนจิไว้ทางด้านเหนือที่คิงเคซัง ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปชะคะเนียะไร อยู่ที่ศาลาหลักโดยอธิฐานให้เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ความมุ่งหวังหลักคืออุทิศให้กับผู้ที่เสียชิวิตจากสงครามที่ต่อเนื่อง ได้มีการเขียนคัมภีร์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน อธิบายถึงความสุข สงบไว้ ภายในภูเขา ศาลาวัดทรงสูง 40 หลัง กุฎิพระนิกายเซนมากกว่า 300 หลัง ซึ่งเป็นเกียรติความภาคภูมิใจ ที่เป็นศูนย์รวมพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ มีพระจำนวนมาได้เดินทางมาให้กำลังใจ และศึกษาเล่าเรียนที่นี่
นอกจากนี้ การสร้างจูซนจิ มีเหตุผลทางการปกครอง ทางวัฒนธรรมแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกก็คือเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ เพราะฮิระอิซูมิ เป็นศูนย์กลางของโอชู คิโยฮิระได้สร้างคาซาโตบะ(สถูปเขียนภาพพระพุทธรูปหิน)บนถนนหลักที่ตัดผ่านยาวของเมืองมุสึโนะคุนิ ขนาด 1 โจว (109 เมตร) และหมู่บ้านประมาณ 1หมื่นหมู่บ้านของทั้งมุสึและเดะวะ ต่างมีการสร้างศาลาขึ้นไว้ดูแล จูซนจิเป็นศูนย์กลางในการวางนโยบายทางพระพุทธศาสนา คิโยฮิระหลังจากสร้างจูซนจิได้หนึ่งปี ก็สร้างคนจิคิโดขึ้น หลังจากที่เสียชีวิตในปี 1128 ก็ได้นำร่างบรรจุอยู่ใต้แท่นพระพุทธรูปภายในศาลาคนจิคิโด
ผู้ที่สืบทอดของคิโยฮิระก็คือโมะโตะฮิระ ได้สร้างโมซือจิ ซึ่งต่างกับจูซนจิที่สร้างอยู่บนยอดเนินเขา ศาลาอื่นๆ นอกจากวัดริวเอนจิแล้ว เป็นวัดที่ถูกสร้างให้ ด้านหน้าของโมซือจิมีสวนและสระน้ำแบบแดนแห่งความสงบสุข ยาคุชิเนียะไรเป็นพระพุทธรูปในสมัยนั้น ซึ่งช่วยทำให้ผู้ที่มีความทุกข์ ลำบาก สบายใจ สงบ วัดโมซือจิโดยรวมแล้ว แสดงให้เห็นถึงดินแดนแห่งความสงบสุขของพระยาคุชิเนียะไร โดยมีศาลากว่า 40หลัง และกุฎิอีก 500 หลัง มากกว่าของจูซนจิ และเชื่อกันว่าน่าเริ่มจากศาลาหลัก คนโด เป็นศูนย์กลางวัดแล้วค่อยๆสร้างบริเวณรอบๆวัด ขยายออกไป
นอกจากนี้ ภรรยาของโมะโตะฮิระ ได้สร้างคันจิไซโออินขึ้น ด้านทิศตะวันออกของโมซือจิ โดยมีพระอะมิดะเนียะไรอยู่ในศาลาหลัก
ในสมัยของโมะโตะฮิระ ได้ใช้โมซือจิและคันจิไซโออินเป็นศูนย์กลางการวางผังถนนของเมือง ดังนั้นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ มีที่เก็บรถลากวัว อาคารเก็บสินค้าของมีค่า เป็นอาคารทรงสูงที่เรียกว่าโคยะถูกสร้างไว้อีกด้วย
โมะโตะฮิระได้เสียชีวิตประมาณปี 1157 และร่างของท่านก็ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่เดียวกับคิโยฮิระในคนจิคิโดของจูซนจิ
ช่วงเวลาของรุ่นที่สามฮิเดะฮิระนั้น พื้นที่บริเวณทางด้านตะวันออกของฮิระอิซูมิใกล้กับแม่น้ำคิตากามินั้น ได้มีการสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารว่าการขึ้นเรียกว่า (อาคารฮิระอิซูมิ) ที่นั่นเองที่ในปัจจุบันถูกเรียกว่าซากโบราณยานางิโนะโกะโชะอิเซกิ และทางด้านทิศตะวันตกได้มีการสร้างมุเรียวโคอินไว้ วัดนี้ได้แสดงถึงแดนสุขาวดีของพระอะมิโดเนียะไร เชื่อกันว่าเป็นวัดที่การสร้างจากแนวคิดเรื่องโลกสุขาวดีหลังความตาย
ปี 1170 ได้มีการแต่งตั้งทหารรบ ปี1181มุสึคามิได้มีอำนาจมากขึ้น ฮิเดะฮิระได้เสียชีวิตลงเมื่อ 1187 ร่างของท่านก็ได้ถูกเก็บไว้ที่คนจิคิโดของจูซนจิ

การล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระแห่งโอชู

ปี 1185 มินาโมโตะโนะโยริโตะโมะแห่งคามาคุระ ได้ทำสงครามเกนเป โดยรวบรวมทหารฝีมือดีจากทั่วทั้งประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว และได้เป็นปรปักษ์กับฟูจิวาระแห่งโอชู ผู้สืบทอดของฮิเดะฮิระคือยาสุฮิระนั้น ได้พยายามต่อสู้แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้ ปี1189 มินาโมโตะโนะโยริโตะโมะได้รุกรานเข้าสู่โอชู และหลังจากโค่นยาสุฮิระ ตระกูลฟูจิวาระแห่งโอชูก็ได้ล้มสลายลง
หลังสงคราม ส่วนของยาสุฮิระ (ส่วนหัวอย่างเดียว) ก็ได้ถูกบรรจุไว้ที่คนจิคิโด มินาโมโตะโนะโยริโตะโมะได้กลับไปดูแลรักษาวัดต่างๆที่ตระกูลฟูจิวาระแห่งโอชูได้สร้างไว้ แต่หลังจากสงครามครั้งนั้น ศูนย์รวมของการปกครองต่างๆ ของฮิระอิซูมิได้พังทลายลง อิทธิพลของฟูจิวาระย้ายไปเป็นรัฐบาลที่คามาคุระสืบทอดต่อไป

ความตกต่ำของวัดต่างๆในฮิระอิซูมิ

หลังจากที่ตระกูลฟูจิวาระแห่งโอชูได้ถูกโค่นล้มลง วัดของฮิระอิซูมินั้นก็ได้ถูกดูแลรักษา และควบคุมโดยรัฐบาลที่คามาคุระ แต่อำนาจของผู้ดูแลก็ไม่ค่อยมีจึงทำให้ค่อยๆ ตกต่ำ เสื่อมถอยไป
ปี 1226 วัดโมซือจิ (วัดเอนริวจิ) ก็ได้เกิดเพลิงไหม้
ปี 1288 ทางคามาคุระเพื่อปกป้องรักษาคนจิคิโด จึงได้ทำการสร้างโอยโดขึ้น
ปี 1304 หอพระคัมภีร์ของจูซนจิได้มีการปรับปรุงซ่อมแซม
แต่ในปี 1337ได้เกิดภัยพิบัติทำให้ศาลาของจูซนจิส่วนมากถูกไฟไหม้ ถึงจะมีผู้ดูแลรักษาวัดจากรัฐบาลในช่วงนั้น แต่เมื่อมีเปลี่ยนรุ่นไป ก็ไม่สามารถรักษาสภาพให้คงอยู่เหมือนตอนสมัยก่อนไว้ได้
ตามพงศาวดารการต่อสู้เหนือใต้(นัมโบคุโจะ) ที่เกียวโตเมื่อเริ่มมุโรมาจิบากุฟุนั้น ได้ขอให้ผู้นำทางศาสนาของพื้นที่ที่มีอำนาจช่วยปกป้องดูแล และอีกด้านก็วางแผนว่าฮิระอิซูมิเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ ให้ผู้ที่มาสักการะช่วยสนับสนุน
ปี 1573 สงครามระหว่างผู้นำทางศาสนาขึ้น ทำให้ประตูด้านใต้ของวัดโมซือจิและวัดของคันจิไซโออินนั้นได้ถูกเพลิงไหม้
สิ่งก่อสร้างต่างๆ ของฟูจิวาระแห่งโอชูที่ได้สร้างขึ้นนั้นมาถึงศตวรรษที่ 17 คงเหลือเพียงคนจิคิโดของจูซนจิที่ยังสภาพวัดที่งดงามหลงเหลืออยู่ในขณะที่ ที่อื่นๆ ได้ถูกทำลายหมด

การดูแลซากโบราณแห่งความฝัน

ปี 1603ได้เริ่มยุคเอโด ฮิระอิซูมิได้อยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่มเซนได หัวหน้าที่ปกครองคือดาเตะนั้น ดูแลวัดหลายวัดในพื้นที่อยู่ในความสงบ เรียบร้อยขึ้น
ปี 1689 เพื่อดูแลซากโบราณต่างๆ เสาหินของศาลาวัด หรือหินตกแต่งสวน ได้มีการสั่งห้ามเอาออกจากพื้นที่ และปลูกสนเรียงบริเวณรอบๆซากโบราณ และการปรับปรุงซ่อมแซมถนนของจูซนจิที่อยู่บริเวณสึกิมิซากะก็ได้ทำในช่วงระหว่างนี้
ปี 1689กวีเอกมัตสึโอะบะโชได้มาเยือนฮิระอิซูมิ ได้เขียนเซซุย(ขึ้นลง)เป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งว่า (สามรุ่นได้นอนหลับชั่วกาลอยู่ในที่หรูหรา....) นอกจากนี้ยังได้เขียนรวมไฮกุ(ลึกสุดของทางแคบ) รวมถึงบทกลอนไฮกุอื่นๆ เช่น(ทุ่งหญ้าหน้าร้อน ทหารผู้กล้า ซากความฝัน )(ฝนเดือนห้า ตกลงมา ศาลาส่องแสงประกาย(คนจิคิโดของจูซนจิ) ) เป็นต้น จากสภาพของซากโบราณต่างๆของสิ่งก่อสร้างที่ส่วนใหญ่โดยทำลายไป มีเพียงคนจิคิโดที่ยังเหลืออยู่ทำให้ฮิระอิซูมิสดใสดังในอดีต ก็ยังต่อเนื่องจนถึงฮิระอิซูมิที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จากการแนะนำของบะโช หลังปีศตวรรษที่ 18 มีคนมาเยือนฮิระอิซูมิมากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นผลมาจากการเล่าขานกันเรื่องมรดกของฟูจิวาระแห่งโอชูจนถึงปัจจุบัน

การฟื้นคืนชีวิตของมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมฮิระอิซูมิ

จากช่วงเริ่มสมัยเมจิ ปี 1868 ญี่ปุ่นได้เริ่มการปกครองแบบจักรพรรดิขึ้น ปี 1876 จักรพรรดิได้ออกเดินทางทั่วประเทศ และโอกาสนี้จึงได้รับจูซนจิและโมซือจิเข้าไว้ในการดูแลรักษาของท่าน อีกด้านหนึ่งเมื่อปี 1929 หลังจากได้มีการออกกฎหมาย(การดูแลมรดกของชาติ)ขึ้น มรดกของทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ ได้มีการถูกรักษากันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ปี1919มีกฎหมาย(การรักษาสถานที่ทางธรรมชาติที่งดงามและซากโบราณ) ซึ่งรวมทั้งศาลเจ้า วัด สถานที่ที่มีชื่อเสียง และซากโบราณต่างๆ โดยแยกเป็นแบบกว้างๆ ได้สามแบบ ซากโบราณ สถานที่สวยงาม ของที่ระลึกถึงธรรมชาติ ได้ถูกรักษาไว้
สำหรับคนจิคิโดของจูซนจิ โมซือจิ ซากโบราณมุเรียวโคอินอะโตนั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก จึงได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติให้ดูแลรักษาเป็นอย่างดี
อีกด้านหนึ่งประเพณีที่มีสืบทอดกันมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา หรือเทศกาล จะเห็นได้ว่ามาจากความศรัทธาของผู้คนจำนวนมาก ทำให้มีการสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี 1950 ได้มีการออกกฎหมายใหม่ (เรื่องการรักษามรดกทางวัฒนธรรม) หลังจากนั้น มรดกทางวัฒนธรรมของฮิระอิซูมิอีกหลายอย่างก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และถูกรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่ได้มีการเริ่มการศึกษาโดยใช้ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อีกครั้ง ก็ทำให้มรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมฮิระอิซูมินั้นได้กลับมาฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง
ปี 1968 คนจิคิโดได้มีการบุรณะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหลัง ทำให้ความงดงามเหมือนเมื่อสมัยก่อนกลับมาระยิบระยับอีกครั้ง ปี1977 สวนของคันจิไซโออินที่เคยถูกใช้เป็นที่เก็บน้ำให้นา ก็ได้ถูกบูรณะสร้างใหม่อีกครั้ง ปี1992 สวนของวัดโมซือจิก็ได้บูรณะเสร็จสมบูรณ์ และในนั้นยังมีการทำให้หน้าตาของการไหลของน้ำยาริมิสุกลับมาสวยงามเหมือนสมัยก่อนอีกครั้งอีกด้วย ตั้งแต่ปี2012สวนของมุเรียวโคอินก็มีการสร้างขึ้นใหม่อยู่ อีกไม่นานเราคงจะได้เห็นสวนสุขาวดีที่สวยงามสุดยอดได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
จากการดูแลรักษา ประกอบกับการสร้างขึ้นมาใหม่นี้รวม วัดต่างๆ ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ชาวบ้านที่ได้ช่วยกันทะนุบำรุงงานเทศกาลต่างๆ เหล่านี้ ได้ทำให้ฮิระอิซูมิในวันนี้มีเสน่ห์ให้ผู้คนมากมายมาเยี่ยมเยือน และแขกผู้มาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย

ก็จะส่งกลับ ไปยังหน้าบ้าน