HIRAIZUMI ดินแดนบริสุทธิ์ของโลก

มรดกทางวัฒนธรรม ของ Hiraizumi ได้รับการ ลงทะเบียนใน เว็บไซต์ มิถุนายน มรดกโลก ในปี 2011

แนะนำเนื้อหา

ที่ตั้งในการดำเนินการปกครอง ฮิระอิซูมิ

ฮิระอิซูมิเป็นที่ตั้งของส่วนปกครองทางพื้นที่เขตเหนือ ที่เจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จยาวนานกว่าร้อยปีช่วงศตวรรษที่ 12
ฟูจิวาระแห่งโอชูนั้นมีผู้สนับสนุนเรื่องสินทรัพย์ ทำให้สามารถสร้างดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา และมีเป้าหมายในการสร้างดินแดนสุขาวดีในอุดมคติ ได้นำไม้จากหมู่บ้านทางเหนือของฮอนชูมากกว่า 1 หมื่นต้นมาเก็บรักษาไว้เพื่อสร้างวัด และต่อมาจุดศูนย์รวมฮิระอิซูมิก็ได้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาและดินแดนแห่งความสงบสุข ได้มีการก่อสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก
การเริ่มต้นสร้างเมืองของฮิระอิซูมินั้น เกิดขึ้นเมื่อ 900 ปีก่อน และฮิระอิซูมิก็ได้รุ่งเรืองยาวถึงกว่า 100 ปี ซึ่งผู้ที่ศูนย์กลางของการปกครองเมืองคือฟูจิวาระแห่งโอชู เพื่อที่จะสร้างโลกแห่งความสงบสุขขึ้น จึงได้รวบรวมสร้างโลกแห่งพระพุทธศาสนาขึ้น
สิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลืออยู่ที่ฮิระอิซูมิ เช่น คนจิคิโดของจูซนจิ หรือ สวนของวัดโมซือจินั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความนึกคิดเรื่องแนวคิดดินแดนพระพุทธศาสนา และแดนสุขาวดีของผู้คนในสมัยนั้นได้ปรากฎอย่างชัดเจน
ฮิระอิซินั้นอยู่ประมาณตรงกลางของเขตโทโฮคุ และจุดศูนย์กลางนั้นประมาณ 1.51กม.ทั้งสี่ทิศ โดยครอบคลุมพื้นที่ทางทิศตะวันออกคือแม่น้ำคิตากามิ ทางทิศตะวันตก เป็นแนวทิวเขา ทางทิศใต้เป็นแม่น้ำโอตะ ทางทิศเหนือคือแม่น้ำโคโระโมะ เป็นทัศนียภาพที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม ทำให้รู้สึกได้ถึงฤดูกาลเต็มเปี่ยม

ความนิยมของฮิระอิซูมิ

สิ่งก่อสร้าง และสวนต่างๆของฮิระอิซูมินั้น สืบทอดและเผยแพร่พระพุทธศาสนา เช่น สิ่งก่อสร้างต่างๆ และสวนของวัดได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพล และกระแสของความนิยมของมนุษย์ให้ปรากฎเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ สิ่งก่อสร้างและสวนจะมีที่มาจากดินแดนสุขาวดีในอุดมคติแล้ว ศาสนาพุทธที่ได้แพร่หลายอย่างกว้างขว้างในสมัยนั้น เพราะมนุษย์มีความเชื่อ ความศรัทธาจึงทำให้เกิดเป็น แนวคิด และความเสื่อมใสที่ยอดเยี่ยมขึ้น
ปี 2011 มรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมฮิระอิซูมิ นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงเทคนิคในการสร้างสรรสิ่งก่อสร้างต่างๆ สวนที่ให้โลกแห่งพระพุทธศาสนาได้ปรากฎขึ้น รวบรวมสินทรัพย์ได้ถึง 5 อย่างด้วยกัน ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมธรรม เพราะ จุดสำคัญคือ (กระแสของความนิยม) (มีความเกี่ยวพันกันโดยตรงของแนวคิด และความเลื่อมใสเป็นสากลอย่างเด่นชัด)

แนวคิดกับฉากหลังของประวัติศาสตร์

ฟูจิวาระแห่งโอชูนั้น รวมทั้งสี่รุ่นได้ปกครองยาวนานกว่า 100 ปี ได้สร้างวัดและสวนต่างๆ ที่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมของความสุขสงบที่ฮิระอิซูมิ ซึ่งกลไกที่สำคัญมากก็คือพระพุทธศาสนา ใช้ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศานาในการปกป้องประเทศ (แนวคิดศาสนาในการป้องกันประเทศ) และ อธิษฐานให้โลกของพระพุทธศาสนาให้ปรากฎขึ้นในปัจจุบันและอนาคต (แนวคิดเรื่องดินแดนสุขาวดี) หลังจากศตวรรษที่ 6 ศาสนาพุทธได้เข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่นั้น ญี่ปุ่นเคยมีแนวคิดนับถือเทพเจ้าตามธรรมชาติต่างๆ และได้หล่อหลอมเข้าด้วยกัน เมื่อถึงศตวรรษที่ 12 ได้พัฒนาเป็นรูปแบบใหม่ที่มีความเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น
แต่ในนั้นก็ยังคงมีกระแสแนวคิดเรื่องวันสิ้นโลกอยู่ด้วย จึงทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการนำเอาศาสนาพุทธมาปกป้องประเทศ และอยากให้หลังจากตายแล้วได้ไปยังดินแดนสุขาวดีของพระอะมิดะเนียะไร จึงให้แนวคิดเรื่องแดนสุขาวดีมาจากความเชื่อเรื่องแดนแห่งความสงบสุของอะมิดะโจวโด จึงเป็นที่มาของพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดการสร้างดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาที่ฮิระอิซูมิขึ้น

วัดจูซนจิ

ฟูจิวาระแห่งโอชูนั้น เลือกฮิระอิซูมิสร้างเป็นที่ปกครองรัฐบาลและในนั้นศูนย์กลาง ก็ได้สร้างวัดขนาดใหญ่ คือจูซนจิ

คนจิคิโด

มรดกของชาติคนจิคิโดนั้น เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธาของผู้คนต่างๆมีวัตถุประสงค์ ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญด้วย คนจิคิโดถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1124 ภายประเทศถือได้ว่าในสิ่งก่อสร้างศาลาอะมิดะโดแบบเดียวกันแล้ว เก่าแก่มากที่สุด ภายในศาลามีแท่นพระ ซึ่งมีพระอะมิดะเนียะไรเป็นองค์ประธานทำให้รูสึกได้ถึงความสงบสุข และยังมีพระพุทธรูปอื่นๆ ตั้งอยู่อีก 33 องค์
นอกจากนี้ที่ต้องประหลาดใจอีกคือ ภายในแท่นบูชาพระนี้ มีการบรรจุร่างของฟุจิวาระแห่งโอชูทั้งสี่รุ่น ที่เป็นผู้คอยสนับสนุนและดูแลฮิระอิซูมิไว้อีกด้วย คนจิคิโดนั้นภายในศาลามีความงดงามมาก และการบรรจุร่างนี้ ทำให้พื้นที่นี้ก็ยังคงเป็นถิ่นฐานที่สำคัญทางจิตใจอยู่จนถึงปัจจุบัน
คนจิคิโด เป็นศาลาภายนอกถูกปิดด้วยทองทั้งหลัง สีนั้นมาจากการปิดทองและทาอุรุชิ และมีการตกแต่งด้วยเปลือกหอยมุก และแลคเกอร์สีทอง ถือได้ว่าการใช้การออกแบบ และเทคนิคการใช้อุรุชิและการปิดทองชั้นสูง เรียกได้ว่าภายในประเทศก็เป็นสิ่งก่อสร้างศาลาอะมิดะโดที่เป็นผลงานชั้นยอด
ภายในอาคารมีการประดับตกแต่ง โดยใช้ไม้เนื้อแดงและไม้กฤษณาจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หอยที่ส่องแสงตอนกลางคืนของประเทศทางเขตร้อน งาช้าง และอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงกระแสความนิยมทางวัฒนธรรมของพื้นที่อย่างกว้างขว้าง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปี 1950 ได้มีการสำรวจร่างของฟูจิวาระ
ปี1962 ได้มีการซ่อมแซมศาลาคนจิคิโด ทำให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจน จากความจริง และความสมบูรณ์ที่ได้พิสูจน์แล้ว ทำให้คนจิคิโดที่ปรับปรุงได้ถูกยอมรับให้มีความสำคัญอย่างยิ่ง
คนจิคิโดนั้น มีพระพุทธรูปอะมิดะเนียะไร (แสงที่ไม่มีที่สิ้นสุด) ที่ประดับแสงส่องสว่างแสดงความสงบสุข เป็นศาลาของพุทธที่มีความงดงามและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องดินแดนสุขาวดีที่หาพบได้ยาก และยังถูกใช้เป็นสุสานของตระกูลฟูจิวาระอีกด้วย เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีการผสมผสานจนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

โอยโด

ศาลาโอยโด ของคนจิคิโด เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องคนจิคิโด ภายในประเทศถือว่าเป็นคนจิคิโดที่เก่าแก่ที่สุด เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเฉพาะคือภายในไม่มีเสา
เป็นกรณีศึกษาสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิคของญี่ปุ่นสมัยก่อนที่ใช้ในการป้องกันรักษาอาคารสิ่งก่อสร้างไม้

หอพระคัมภีร์

หอพระคัมภีร์นั้น เป็นที่เก็บรวบรวมสมบัติต่างๆ ของวัด มี(คัมภีร์ที่เขียนบนกระดาษสีน้ำเงินด้วยตัวหนังสือสีทอง)ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ และอื่นๆ เช่นพระคัมภีร์ที่สำคัญของศตวรรษที่ 12 และพระพุทธรูป อาคารปัจจุบันได้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุของสมัยนั้น ด้วยผนังด้านในมีสีที่ยังเหลืออยู่จากสมัยนั้น

ซากโบราณโออิเกคะรันอะโต

ซากโบราณโออิเกคะรันอะโตเป็นที่ หนังสือสมัยยุคกลาง(จูซนจิคุโยกังมง) ที่เก็บไว้ที่จูซนจิได้การเขียนถึง เชื่อกันว่า (จินโกะโคกกะโอคะรันอิกกุ) ได้ก่อสร้างขึ้น
จากการค้นคว้าทางโบราณคดีมีการพิสูจน์แล้วว่า เป็นสวนที่มีสระน้ำ อยู่ด้วยกันกับวัดที่มีโครงสร้างบริเวณกว้าง
สวนสระน้ำนี้ เชื่อว่าเป็นสวนแห่งแรกที่ถูกสร้างให้มีดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาให้ปรากฎเป็นแห่งแรกของฮิระอิซูมิ
ปัจจุบัน กำลังมีการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อเตรียมการสร้างขึ้นใหม่ในอนาคต

จิตวิญญาณของจูซนจิ

(เสียงระฆังนี้ ทำให้ความทุกข์ เศร้าคลาย รู้สึกสบายขึ้น สงครามขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นทำให้มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก เสียงระฆังจะนำทางดวงวิญญาณของคนเหล่านี้ ข้ามพ้นวนวังของความรัก และเกลียดได้ นอกจากยังรวมถึงวิญญาณของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้ข้ามไปให้ถึงดินแดนสุขาวดี)
เมื่อพูดถึง(จูซนจิคุโยกังมง) เมื่อช่วงเฉลิมฉลองการสร้างเสร็จของวัด ฟูจิวาระแห่งโอชูรุ่นแรกคิโยฮิระนั้น เมื่อศตวรรษที่ 11มีสงครามใหญ่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และอธิษฐานให้ดวงวิญญาณเหล่านั้นได้ไปยังแดนสุขาวดี พร้อมๆ ไปกับสร้างดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา จูซนจิคุโยกังมงจึงเป็นคำสาบานว่าจะสร้างดินแห่งแห่งความสุขสงบนั้นเอง
จิตวิญญาณแห่งคำสาบานนี้ หลังจากนั้นได้สืบทอดถึง 4 รุ่นยาวนานกว่า 100 ปี

ส่วนสำคัญ ที่ไม่มีรูปร่าง

ภายในบริเวณปัจจุบันของจูซนจิ มีการจัดงานพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และงานเทศกาลต่างๆมากมาย
ภายในบริเวณของจูซนจิมีศาลเจ้าชินโต คือ ชิรายามะชินจะ ซึ่งทุกปีในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงจะมีการแสดงรำแบบโบราณ และ การแสดงอื่นๆที่สืบทอดมาจากยุคกลาง เป็นการแสดงเพื่อถวายแด่เทพเจ้า
นอกจากนี้ ในหน้าร้อนยังมีจัดเซงากิไก ซึ่งมี (การร่ายรำคาวะนิชิเนนบุสึเกนไบ) เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องดินแดนสุขาวดี ที่นั่นจะมีการนำลิงหนึ่งตัวมาร่วมด้วย เป็นการร่ายรำเพื่อแสดงการนำดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในสงครามไปสู่ดินแดนสุขาวดี

วัดโมซือจิ

เป็นวัดที่ฟูจิวาระแห่งโอชูรุ่นที่สอง โมะโตะฮิระเป็นผู้สร้างขึ้น
วัดโมซือจิ สร้างโดยเกณฑ์เส้นเหนือใต้ จากยอดของเขาคิงเคซังไปยังตรงกลางทิศใต้ มีความเกี่ยวพันกับเขาคิงเคซังอย่างใกล้ชิด
เป็นวัดที่ บริเวณด้านหน้าของศาลา มีสระน้ำขนาดใหญ่ เชื่อว่าที่ศาลาหลักมีพระพุทธรูปยาคุชิเนียะไร เพื่อแสดงให้เห็นถึงดินแดนแห่งความสุขสงบ
วัดโมซือจินอกจากสิ่งก่อสร้างแล้ว ยังมีสวนที่มีสระน้ำ และด้านหลังเป็นทิวเขา ซึ่งทั้งหมดนี้ได้แสดงภาพดินแดนสุขาวดีของพุทธให้ปรากฎ
ความงดงามของศาลาหลักนั้น ในสมัยที่สร้าง ถือได้ว่าไม่มีที่ไหนเทียบเทียมได้ แต่ว่าภายหลังสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้งหมดได้ถูกไฟไหม้หมด จึงเหลือเพียงแต่ซากโบราณของโครงสร้างใต้ดินที่ยังคงสภาพดีที่ถูกรักษาไว้

สวนสุขาวดี(โจวโด)

รูปแบบ แนวคิดและเทคนิคต่างๆเรื่องการสร้างวัด กับศาสนาพุทธนั้นได้รับอิทธิพลจาก จีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลี แต่ได้มาพัฒนาเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นศาสนาพุทธที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น จะเห็นได้จากมีการสร้างทางเดินยาวรอบๆ บริเวณของวัดต่างๆ
ช่วงหลังศตวรรษที่ 11เกียวโต และเมืองรอบๆ มีการสร้างวัดขึ้น โดยที่มีการสร้างสวนไปพร้อมๆกับวัดนั้นได้แพร่หลาย โดยฮิระอิซูมิก็ได้สืบทอดมาได้อย่างงดงาม
นอกจากนี้ ที่ญี่ปุ่นก่อนศาสนาพุทธนั้น เชื่อกันว่ามีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าต่างๆเช่นภูเขา ต้นไม้ใหญ่ น้ำตก และอื่นๆนั้นได้สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ ในอดีตได้รับศาสนาพุทธมาจากจีนแผ่นดินใหญ่พร้อมกับความเชื่อเรื่องสวนแห่งอุดมคติ โดยญี่ปุ่นเองนั้นมีเอกลักษณ์เรื่องความเชื่อสักการะธรรมาติรวมกับสวนในอุดมคติ การออกแบบ เทคนิคต่างๆ ทำให้มีการพัฒนาออกเป็นรูปแบบใหม่ขึ้น
การสร้างสวนในอุดมคติของญี่ปุ่นนั้น รูปทรงของโครงสร้าง แตกต่างจากที่พบในพื้นที่ทางเอเชียตะวันออก ของญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ตัวในการนำทัศนียภาพของธรรมชาติมาตกแต่งสร้างไว้ในสวนสุขาวดีตามจุดต่างๆ
สวนสุขาวดีของโมซือจิ ก็เป็นตัวอย่างของสวนสุขาวดีของคนญี่ปุ่นที่ได้แสดงให้ประจักษ์เป็นรูปร่าง

บันทึกการจัดสวนของโลก

ช่วงหลังศตวรรษที่ 11 มีหนังสือที่เกี่ยวกับเทคนิคการจัดสวน (บันทึกการจัดสวน) ซึ่งได้เขียนถึงการออกแบบ และเทคนิคต่างๆ ในการจัดสวนในอุดมคติไว้
สระน้ำเหมือนกับทะเล ซึ่งมีความงดงามของเกาะแก่งและหาดทรายได้ถูกทำให้ปรากฎ โดยใช้หินตั้งไว้เป็นศูนย์กลาง หินที่โดนน้ำเซาะก็แสดงให้เหมือนกับเกาะที่อยู่ห่างออกไป ทัศนียภาพแนวหินสูงชันก็เหมือนกับทิวเขา สระน้ำนี้ถูกจัดให้มีน้ำไหล เป็นต้น เห็นได้ว่าสวนของโมซือจิได้ทำให้เห็นรูปร่างความสวยงามและสมบูรณ์แบบตามสวนที่ได้มีเขียนไว้ใน (บันทึกการจัดสวน)
ยาริมิสุ(น้ำไหลแบบญี่ปุ่น)นั้น ถูกทำให้มีลักษณะเป็นเกาะแก่ง หาดตื้น ทำให้มีการไหลของน้ำคล้ายแม่น้ำที่เงียบสงบ ลักษณะเฉพาะของยาริมิสุของสวนวัดโมซือจิคือ มีความเข้าใจถึงการเนื้อหาของการออกแบบได้อย่างถ่องแท้ ทำให้มีเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง
ยาริมิสุได้ถูกทำให้กลับมาเหมือนเดิม และยังได้กลับมาจัดแสดงการละเล่นร้องเพลง(เกียะคุซุยโนะอุตะเงะ)ที่เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย

ส่วนสำคัญที่ไม่มีรูปร่าง

นอกจากนี้ โมซือจิยังมีสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องแดนสุขาวดีโดยตรง เช่น การสวดโจเกียวซังไมที่เคร่งครัด และการรำเอนเนน ที่มีการจัดเป็นประจำตามช่วงเวลาที่กำหนด
คืนวันที่ 20 มกราคมของทุกปี ภายในบริเวณศาลาโจเกียวโด ด้านหน้าของพระพุทธรูปอะมิดะโดที่สงบจะมีการสวดโจเกียวซังไมขึ้น หลังจากนั้นจะมีผู้คนที่เข้าร่วมงานนั้นชมการแสดงรำเอนเนน ที่เป็นการขอให้ไม่เจ็บไม่ป่วยมีอายุยืนอีกด้วย
รำเอนเนนของวัดโมซือจินั้น เป็นการแสดงที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น สืบทอดวัฒนธรรมของฮิระอิซูมิ ถือได้ว่า เป็นส่วนสำคัญที่ไม่มีรูปร่าง ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ซากโบราณคันจิไซโออินอะโต

ซากโบราณคันจิไซโออินอะโตเป็น ซากโบราณของวัด ที่ภรรยาของรุ่นที่สองโมะโตะฮิระได้สร้างขึ้นไว้ทางทิศตะวันออกของวัดโมซือจิ
ผลจากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีสองศาลาอะมิดะโดอยู่ทางทิศใต้ พิสูจน์ได้วามีสวนที่มีสระน้ำกว้าง มีเกาะอยู่ตรงกลาง ภายในบริเวณมีการปรับปรุงซ่อมแซมสระน้ำขึ้นใหม่
รูปแบบสระน้ำมีหาดทรายสีขาว การจัดวางหิน และ การทำน้ำตกให้มีน้ำไหลคดเคี้ยว อื่นๆ ตรงกับวัดโมซือจิที่เขียนไว้ใน (บันทึกการจัดสวน)

ซากโบราณมุเรียวโคอินอะโต

ซากโบราณมุเรียวโคอินอะโต เป็นซากโบราณของวัดที่รุ่นที่สามฟูจิวาระฮิเดะฮิระสร้างขึ้น
จากผลการศึกษาทางโบราณคดีพิสูจน์พบว่า ภายในบริเวณ มีสวนที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีเกาะกลางสระอยู่ 3 เกาะ เกาะกลางน้ำขนาดใหญ่มีทางเดินเชื่อมต่อกับวัด วัดนี้มีมีการสร้างเหมือนกับคนจิคิโดของจูซนจิคือมี พระอะมิโดเนียะไรเป็นพระประธาน
มุเรียวโคอินนั้น ถูกสร้างให้เมื่อ มองจากทิศตะวันออกของวัด มองไปทางทิศตะวันตก ด้านหลังพระพุทธรูปอะมิดะเนียะไร จะเป็นภูเขาคิงเคซังตั้งอยู่ มีการแสดงให้เห็นว่าสร้างมุเรียวโคอินในสมัยนั้นเพื่อให้เป็นโลกทางทิศตะวันตกแห่งความสงบของพระอะมิดะโด
เพราะอย่างนี้ การมุ่งไปทางทางทิศตะวันตกที่สุขสงบนั้นก็มีคิงเคซังเป็นสัญญาลักษณ์ และรูปแบบภาพมีการสร้างวัดเรียงอยู่ทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกของมุเรียวโคอิน สำหรับภายในประเทศญี่ปุ่นแล้วเป็นการพัฒนาระดับสุดยอดของการสร้างรูปแบบของสวนสุขาวดี ปัจจุบันสระน้ำได้อยู่ในระหว่างการปรับปรุง เพื่อที่จะได้กลับมามีรูปร่างอย่างในสมัยก่อนอีกครั้ง

เขาคิงเคซัง

เมื่อมีการสร้างฮิระอิซูมิ คิงเคซังก็กลายเป็นภูเขาที่มีความหมายเป็นอย่างมาก เขาคิงเคซังนั้น เป็นภูเขาแห่งความศรัทธาบนยอดเขามีแท่นหินที่ถูกสร้างขึ้น เชื่อมโยงกันระหว่างโมซือจิและคันจิไซโออิน นอกจากนี้บรรยากาศทางพุทธศาสนาที่ปรากฎขึ้นของมุเรียวโคอิน ก็มีความหมายที่สำคัญเป็นอย่างมาก
เขาคิงเคซัง เป็นจุดแลนด์มาร์กที่สำคัญของฮิระอิซูมิ เชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมรวมทั้งหมดของสิ่งก่อสร้าง สวน เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดภาพรวมของแดนสุขาวดี

ฮิระอิซูมิได้ล่มสลาย อิทธิพลของแดนสุขาวดีในอุดมคติกับกระแสค่านิยม

ฤดูใบไม้ร่วงของปี 1189 รัฐบาลของฟูจิวาระแห่งโอชูได้ถูกโค่นล้มลงโดยมินาโมะโตะโนะโยริโตะโมะของคามาคุระ จึงทำให้ความเจริญรุ่งเรืองของฮิระอิซูมิที่ยาวนานกว่า 100 ต้องสิ้นสุดลง
แต่ว่า รูปแบบของวัด และสวนต่างๆ นั้นเป็นตัวอย่างของหลายๆวัดตามพื้นที่ต่างๆของญี่ปุ่นได้มีการสืบทอดต่อไป เช่นชิรามิของสุวัดกันโจวจิ อ.อิวากิ จ.ฟุกุชิมะ หรือวัดเอนฟุกุจิ ของอ.คามาคุระ จ.คานากาว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นต่อไปซึ่งมีศูนย์กลางคือคามาคุระนั้นได้สืบทอดต่อ แสดงให้เห็นว่ามรดกของฮิระอิซูมินั้นมีคุณค่ากับกระแสความนิยมของมนุษย์อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ แดนสุขาวดีในอุดมคติของพุทธศาสนานั้นไม่ได้มีแค่ญี่ปุ่น แต่ยังแพร่กระจายไปทั่วทั้ง จีน เกาหลี และยังไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้รวมเป็นคุณค่าที่กระจายทั่วโลก ถือได้ว่าเป็นการอุทิศเพื่อมนุษยชาติ โดยมรดกต่างๆของฮิระอิซูมิได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดอุดมคติ ความศรัทธาที่เป็นสากล ที่สัมพันธ์โดยตรง และความเป็นจริงกับ(แดนสุขาวดีในอุดมคติ)
วัดต่างๆ และสวนสุขาวดีของฮิระอิซูมินั้น แบ่งแยกออกเป็นสิ่งก่อสร้าง และสวน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้คุณค่าของการเปลี่ยนแปลงกระแสความนิยม ซึ่งทำให้อยู่ในรูปที่จับต้องได้ และแสดงขึ้น ที่เห็นได้ถึงแนวคิดความศรัทธาที่เป็นสากลอย่างชัดเจน ของแนวคิดแดนสุขาวดี

มุ่งสู่อนาคต

ทำให้ทราบได้ว่า ถึงฮิระอิซูมิ มีอายุ 800ปี แต่ก็ถูกรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพดีโดยผู้คนในท้องถิ่น
วัดและสวนที่ถูกสร้างขึ้นที่ฮิระอิซูมิ และการศึกษาทางโบราณคดี และมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ไม่เพียงแต่ได้แสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ในอดีตของฟูจิวาระแห่งโอชูเท่านั้น แต่ในชีวิตประจำวันของพวกเราในปัจจุบันนี้ก็ยังมีมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมที่ยังมีลมหายใจอยู่
มรดกโลกทางด้านวัฒนธรรฮิระอิซูมินั้น พวกเราจะเล่าสืบทอดเรื่องราวความจริง ความสำคัญของมรดกโลกทางวัฒนธรรมต่อไปยังอนาคต และเรื่องราวของความภูมิใจนี้จะยังอยู่ตลอดไป

ก็จะส่งกลับ ไปยังหน้าบ้าน